แลกนามบัตรกับคนต่างชาติอย่างไรให้ได้ธุรกิจ

ในยุคโลกธุรกิจยุคใหม่ ไร้พรมแดนและในปี 2558 ประเทศไทยก็เข้าสู่ AEC ความจำเป็นที่เราต้องเข้าใจวัฒนธรรมที่แตกต่าง และสิ่งนี้จะช่วยให้เรื่องยากให้กลายเป็นเรื่องง่ายในการสานสายสัมพันธ์ทั้งในทางธุรกิจและส่วนตัว

ด้วยปัจจัยดังกล่าวข้างต้นจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้อง มีการติดต่อทำธุรกิจกับต่างชาติ ต่างวัฒนธรรมและการสร้าง First Impression เป็นเรื่องที่สำคัญมาก คุณมีโอกาสเพียงครั้งเดียวที่จะสร้างธุรกิจ หรือจบธุรกิจได้ในครั้งแรกที่ติดต่อ

เมื่อการดีลธุรกิจกับคนต่างชาติ สิ่งที่สำคัญมากคือการรเข้าใจในวัฒธรรมของชาตินั้นๆที่เค้ายึดถือ เช่นธรรมเนียมปฏิบัติ ค่านิยม อาหาร ศิลปวัฒนธรรม การแต่งกาย ซึ่งสิ่งที่ละเลยไม่ได้คือมารยาทในทางธุรกิจ เพราะเป็นการเปิดประตูสร้างความสัมพันธ์ในการติดต่อระหว่างกัน

การเข้าใจมารยาทในทางธุรกิจจะทำให้คุณมีความมั่นใจในการติดต่อสื่อสารกับคนต่างชาติไม่ว่าจะเป็น เพื่อน เพื่อนร่วมงาน ลูกค้า หรือคู่ค้าและการรู้วิธีการสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้คุณสามารถสร้างความไว้วางใจ และเชื่อมต่อสานสัมพันธ์ได้อย่างรวดเร็ว

และสิ่งหนึ่งในมารยาทในการติดต่อธุรกิจที่สำคัญคือการแลกเปลียนนามบัตร เพราะในแต่ละชาติ แต่ละภาษามีรายละเอียดเล็กๆ ที่สำคัญไม่เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นฝั่งอเมริกา ฝั่งยุโรป เอเชีย ซึ่งมืออาชีพจะไม่เคยพลาดในรายละเอียดเหล่านี้เลย

วันนี้ 3BPriniting จึงขอรวบรวม มารยาทและวัฒนธรรม การแลกเปลี่ยนนามบัตรของแต่ละวัฒนธรรมมาให้เพื่อนนักธุรกิจชาวไทย ไปใช้ในการดีลงานกับลูกค้าชาวต่างชาติกัน และเตรียมตัวสู่การโกอินเตอร์ของธุรกิจของคุณ

มารยาทในการแลกนามบัตรในรูปแบบสากล

business-partner

  • นามบัตรเป็นสิ่งจำเป็นและใช้กันทั่วไปในทุกๆประเทศ ในการติดต่องาน การนำเสนองาน การติดต่อระหว่างบุคคล ดังนั้นคุณต้องแน่ใจว่าคุณได้ใส่รายละเอียดที่ครบถ้วนในนามบัตรของคุณ
  • นามบัตรเป็นการแสดงให้เห็นถึงมารยาททางธุรกิจที่ดี ถือเป็นวิธีการการนำเสนอตัวเองที่ดีวีธีหนึ่งที่ได้รับความนิยม
  • เมื่อเดินทางไปต่างประเทศเพื่อติดต่อธุรกิจ ขอแนะนำให้ด้านใดด้านหนึ่งของนามบัตรของคุณมีภาษาที่เหมาะสมกับชาติที่ติดต่อด้วย
  • มารยาททางธุรกิจที่ดีคือต้องแสดงนามบัตรในภาษาที่เหมาะสมกับผู้ที่กำลังติดต่ออยู่ต่อหน้าขณะนั้น
  • พยายามใส่ใจในลายละเอียดต่างๆ ในนามบัตรก่อน หรือสอบถามเจ้าของนามบัตร ซึ่งจะทำให้เจ้าของนามบัตรรู้สึกการการได้รับการใส่ใจ

มารยาทการแลกนามบัตรกับคนญี่ปุ่น

Japanese-Business-Card-Etiquette

ในการติดต่อทำธุรกิจกับคนญี่ปุ่น การแลกนามบัตรถือเป็นมารยาทและเป็นธรรมเนียมอย่างหนึ่งที่ควรปฏิบัติ ซึ่งเป็นที่รู้กันสำหรับคนที่ทำธุรกิจกับคนญี่ปุ่น แต่การแลกนามบัตรสำหรับคนญี่ปุ่นไม่ใช่เพียงแค่ยื่นนามบัตรของตนให้แก่อีกฝ่ายเป็นอันจบ จะต้องมีเทคนิคที่คนญี่ปุ่นจะต้องเรียนรู้และจดจำ ถึงกับมีการอบรมกันสำหรับในแผนกที่ต้องพบปะกับลูกค้าเป็นประจำ

ขณะให้นามบัตร

  • การยื่นนามบัตร ผู้ที่มีตำแหน่งต่ำกว่า ต้องเป็นฝ่ายยื่นให้ก่อน
  • ไม่ควรยื่นนามบัตรในขณะที่นั่งอยู่ ควรลุกขึ้นยืน มองฝ่ายตรงข้ามและยื่นนามบัตรด้วยมือทั้งสองข้างในระดับอก
  • หันนามบัตรด้านที่ฝ่ายตรงข้ามสามารถอ่านได้เลย
  • ผู้รับนามบัตรก็ควรรับนามบัตรด้วยมือทั้งสองข้าง
  • หากยื่นนามบัตรพร้อมกัน ให้ยื่นนามบัตรของตนเองด้วยมือขวา และรับนามบัตรจากฝ่ายตรงข้ามด้วยมือซ้าย
  • หลังจากรับนามบัตร

    • เมื่อรับนามบัตรแล้ว ให้อ่านนามบัตรอย่างใส่ใจ ไม่ควรเก็บนามบัตรใส่ซองนามบัตรทันที
    • หากนั่งอยู่ที่โต๊ะประชุมหรือพูดคุยงานอยู่ ให้วางนามบัตรอยู่บนซองนามบัตรหรือวางไว้บนโต๊ะก่อน
    • หากอีกฝ่ายมีหลายคน ให้วางนามบัตรเรียงตามลำดับที่นั่งของฝ่ายตรงข้ามที่จะช่วยให้จำได้ง่ายขึ้น
    • ถ้าชื่อภาษาญี่ปุ่นตัวคันจิอ่านยากเกินไปหรืออ่านไม่ออก สามารถถามผู้ให้นามบัตรได้ (กรณีไม่มีชื่อภาษาอังกฤษบนนามบัตร)
    • ห้ามเขียนหรือจดโน้ตลงบนนามบัตรต่อหน้าฝ่ายตรงข้าม ยกเว้นกรณีที่ต้องเขียนบางอย่างเกี่ยวกับเจ้าของนามบัตร ให้กล่าวขอโทษก่อนแล้วค่อยเขียนลงไป
    • หลังจากเสร็จสิ้นการประชุม ห้ามลืมนามบัตรทิ้งไว้บนโต๊ะเป็นอันขาด
    • หลังจากนั้นให้จดบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับผู้ให้นามบัตรบนนามบัตร เพื่อให้สามารถจดจำผู้ให้นามบัตรได้

    มารยาทการแลกนามบัตรกับคนจีน

    iu_takes_you_to

    • นามบัตรต้องมีด้านหนึ่งที่เป็นภาษาจีนโดยใช้ตัวอักษรจีนที่เข้าใจง่ายและพิมพ์ด้วยหมึกที่เป็นสีมงคลเช่นสีทอง
    • ต้องมั่นใจว่าภาษาจีนที่ใช้มีความหมายเหมาะสมต่อผู้ที่ได้รับอาทิเช่น ผู้รับเป็นจีนกวางตุ้ง หรือ แมนดาริน
    • นามบัตรของคุณควรจะรวมชื่อของคุณลงไปด้วย หากบริษัทของคุณเป็นบริษัทที่เก่าแก่หรือใหญ่ที่สุดในประเทศของคุณ จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะเน้นข้อความเหล่านี้ลงไปในนามบัตรด้วย
    • ต้องมอบนามบัตรโดยใช้ทั้ง 2 มือ
    • ห้ามขีดเขียนลงบนนามบัตรของคนอื่น ยกเว้นได้รับอนุญาต

    มารยาทการแลกนามบัตรกับคนอินเดีย

    Business-Meeting2

    ความสำเร็จทางธุรกิจใดๆในอินเดีย เป็นเรื่องค่อยเป็นค่อยไป ทุกอย่างต้องใช้เวลา จนเหมือนเห็นว่าเวลาเป็นเรื่องไม่มีค่าสำหรับคนอินเดีย แต่จริงๆแล้วนั่นเพราะอินเดีย เขาไม่ไว้ใจคนแปลกหน้า ต้องใช้เวลาในการทำความรู้จักและเข้าใจกัน เมื่อไรที่ความสัมพันธ์เกิดขึ้น ความสำเร็จก็เกิดตามมาไม่ช้า ดังนั้นการที่เราจะรู้เขาจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะสร้างสัมพันธภาพให้เกิดเร็วขึ้น และช่วยให้ข้อตกลงทางธุรกิจเกิดขึ้นเร็วตามมาด้วย

    • ปรกติอินเดีย จะใช้วิธีเช็คแฮนด์หรือจับมือกัน เช่นเดียวกับวัฒนธรรมตะวันตก หรือหากจะไหว้แบบไทย พร้อมกล่าวนมัสเต สำหรับคู่สนทนาผู้ใหญ่ ก็ได้เช่นกัน หากผู้ร่วมสนทนาฝ่ายตรงข้ามมีสุภาพสตรีด้วย จะทำการเช็คแฮนด์ ก็ต่อเมื่อสุภาพสตรีแสดงพฤติกรรมว่าประสงค์จะจับมือกับท่านก่อนเท่านั้น ท่านจึงยื่นมือออกไปจับด้วย มิฉะนั้น แค่ยิ้มและพยักหน้าเล็กน้อย ก็ถือว่าเป็นการทำความรู้จักกับสุภาพสตรี ท่านนั้นแล้ว
    • เมื่อเข้าห้องประชุมแล้ว ลำดับแรก ต้องแลกนามบัตรกันครับ และจงถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติว่า รับหรือส่งนามบัตรด้วยมือขวาของท่านเท่านั้น
    • หากคุณได้รับเกียรติบัตรหรือจบการศึกษาปริญญาในระดับใดให้ใส่รายละเอียดนั้นลงไปในนามบัตรด้วย
    • มื่อรับนามบัตรมาแล้ว จะต้องเพ่งพินิจด้วยความนับถือนะครับ อย่าจับใส่กระเป๋าทันที (อย่างนี้ถือว่าไม่ให้เกียรติกัน)
    • นามบัตรไม่จำเป็นต้องแปลเป็นภาษาฮินดี คุณสามารถใช้นามบัตรภาษาอังกฤษได้เนื่องจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาพูดที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในชุมชนธุรกิจ

    มารยาทการแลกนามบัตรกับคนอังกฤษ

    Business Card Exchange

    • การมอบนามบัตรเป็นธรรมเนียมปฏิบัติปกติในพิธีที่เป็นทางการ
    • หากคุณเก็บนามบัตรไว้ในกระเป๋าจะเป็นการเสียมารยาท
    • นามบัตรควรจะสะอาดและเรียบร้อย
    • การมอบนามบัตรให้ทุกคนที่พบนั้นเป็นเรื่องที่ไม่จำเป็นนักเพราะทุกคนไม่ได้หวังว่าคุณจะมอบนามบัตรให้พวกเขา
    แลกนามบัตรกับคนต่างชาติอย่างไรให้ได้ธุรกิจ